การขออนุญาตปลูกสร้าง
การขออนุญาตปลูกสร้าง
(กรณีประกาศใช้ พรบ.ควบคุมอาคาร)
1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
·
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
·
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
·
แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
·
สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
| |
|
·
หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
(กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
·
หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
·
หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
(กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
·
หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่ีอยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม
และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
| |
|
4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
|
||
|
5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)
|
||
5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก
และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก - แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก - แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน - ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน - ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ - ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลและส่วนลาด - แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดและระดับพื้นดิน - ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน - แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร พร้อมด้วยรายละเอียด - แบบแปลน ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย - แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน - แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน - แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร - แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร ให้แสดงขั้นตอน วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร - สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร แบบแปลนจะใช้มาตรา ส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250 - แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม และส่วนที่จะเปลี่ยนการใช้ใหม่ให้ชัดเจน - รายการประกอบแบบแปลน ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร - รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ 5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมให้ระบุเลขทะเบียนในใบ อนุญาตไว้ด้วย |
6. ค่าธรรมเนียม
|
|||||
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
|
|||||
|
|||||
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
|
|||||
|
|||||
|
|||||
สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลธัญบุรี
ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติมหรือการเคลื่อน
ย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้ ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลธัญบุรี |
|||||
7. บทกำหนดโทษ
|
||
|
แนะนำตัว
สวัสดีครับ ผม ช่างโด่ง ครับชื่อจริง นายไกรสร ยาวิโล(MR. Kraisorn Yawilo) ทำงานประจำเป็นช่าง อบต.น้อยๆ แล้วทีนี้ ในพื้นที่ดูแลที่ไม่น้อยเท่าไหร่ ของท้องถิ่นก็มีสาระพัดเรื่องให้คิดแก้ไข พิจารณากันอยู่ทุกวัน เฉพาะงานโยธา ก็ถือระเบียบปฎิบัติกันเพียบแล้วใหนจะ พรบ.โน้น นี่ นั้น อีก นอกจากงานในหน้าที่รับผิดชอบดดยตรงตาม มาตราฐานกำหนดตำแหน่งแล้ว ยังต้องรับดูแลงานถ่ายโอนภาระกิจ จากองค์กรต่างๆ ไอ้ที่มาด้วยกับภาระกิจถ่ายโอนนั้นๆ ก็จะเป็นระเบียบปฎิบัติขั้นตอน รวมถึง พรบ.ที่เป็นข้อกำหนดนั้นตามมาด้วยทุกภาระกิจครับ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันเชื้อเพลิง ของกรมพลังงาน โรงงานต่างๆของกรมโรงงานและอุตส่าหกรรม ภาระกิจของ ทางหลวงชนบท งานประปาของ รพช.เดิม งานแหล่งน้ำของ ทรัพยากรแหล่งน้ำทั้งบนดินใต้ดินอีกเยอะแยะไม่หมด ฯ คิดแล้วเหนื่อยครับ เหนื่อยเนื่องจาก มีบุคลากรที่ดำเนินการกันเพียง สอง สามคน ท้องถิ่นใหญ่ๆ ก้ดีหน่อยมีกันหลายคนแบ่งหน้าที่กัน แต่ เล็กๆที่ผมทำงานอยุ่ งานมันล้นมือน่ะครับ แต่ก็ก็อยู่ ถูๆไถๆกันมาได้จนถึงปัจจุบัน เป้าหมายหลักในการทำบล๊อกนี้ เอาไว้เก็บเอกสาร พรบ.ที่ต้องใช้ และเคยใช้ ระเบียบคำสั่งต่างๆ แบบก่อสร้าง อาจจะรวบรวมเอามาจากเวปอื่นที่ทำไว้เผยแพร่เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการใช้อ้างอิงในงานเอง รวมถึงบทความ ข้อคิด แนวคิดในการทำงานและอื่นๆ เขียนบทความนี้ และอื่นๆไว้เผื่อมีนักท่องโลกอินเตอร์เน็ตหรือหาข้อมูลที่ต้องการแล้วเจอไปโผ่ลใน Google จะได้เข้าใจในวัตถุประสงค์ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)