การขออนุญาตปลูกสร้าง
(กรณีประกาศใช้ พรบ.ควบคุมอาคาร)
1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
·
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
·
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
·
แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
·
สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
|
·
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์
ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
|
|
2. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง
·
หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
(กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
·
หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
·
หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
(กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
·
หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่ีอยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม
และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
|
·
รายการคำนวณ 1 ชุด
(กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่
หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)
·
แบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับบ้านพักอาศัย
(ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่น ๆ )
·
หนังสือแสดงว่าคณะกรรมการการควบคุมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความเห็นชอบ
·
แผนผังโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว
(กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)
·
เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลตำบลธัญบุรี จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร,
ต่อเติมหรือต่ออายุใบอนุญาต)
|
|
3. การพิจารณา
|
ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน
เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม
พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับ ที่ 2)
พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
·
อาคารประเภทควบคุมการใช้
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ
เพื่อขอใบรับรองการใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
·
การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา
39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จะต้องดำเนินการ
·
แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด
พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
1). ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร
(วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
2). ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร
(วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
3). ชื่อผู้ควบคุมงาน
(ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
4). แผนผังบริเวณ แบบแปลน
รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
5). วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด
การดำเนินการก่อสร้างอาคาร
|
|
4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
|
|
·
อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
·
อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้
ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน
(ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
·
ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
|
|
5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)
|
|
5.1 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบเอกสารเกี่ยวกับแผนผังบริเวณ
แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
พร้อมกับคำขอ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ
หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
ต้องแนบรายการคำนวณ จำนวน 1 ชุด
5.2 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ
แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ (ถ้ามี) ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตได้
5.3 อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว
ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารยื่นคำขอใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้อง ถิ่น
5.4 ในกรณีที่เจ้าของอาคาร
ประสงค์จะใช้อาคารเพื่อกิจการประเภทควบคุมการใช้ จะเปลี่ยนการใช้อาคารให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น
5.5 ในกรณีที่เจ้าของอาคารประสงค์จะดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถเพื่อการอื่นและก่อ
สร้างที่จอดรถแทนของเดิมให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.6 ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
5.7 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด
ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 15
วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
5.8 ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลอื่น
ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อเห็นเป็นการสมควร
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือแจ้งอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอโอนใบ
อนุญาตได้
|
5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก
และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก
- แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก
- แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน
- ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว
และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน
- ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ
- ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ
พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลและส่วนลาด
- แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง
หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดและระดับพื้นดิน
- ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน
- แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100
โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร
พร้อมด้วยรายละเอียด
- แบบแปลน
ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง
ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน
- แบบแปลน
สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร
ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร
- แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร ให้แสดงขั้นตอน
วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร
- สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร
มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร
แบบแปลนจะใช้มาตรา ส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250
- แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม
และส่วนที่จะเปลี่ยนการใช้ใหม่ให้ชัดเจน
- รายการประกอบแบบแปลน
ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร
- รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ
ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง
ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย
ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมให้ระบุเลขทะเบียนในใบ
อนุญาตไว้ด้วย
|
6. ค่าธรรมเนียม
|
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
|
|
- ใบอนุญาตก่อสร้าง
ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
- ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท
|
|
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
|
|
- ใบอนุญาตก่อสร้าง
ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
|
|
|
1.
อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12
เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12
เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12
บาท
3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15
เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท
|
|
สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลธัญบุรี
ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติมหรือการเคลื่อน
ย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง
เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้
ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลธัญบุรี
|
|
|
|
|
|
|
7. บทกำหนดโทษ
|
|
7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง
เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล
หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต
ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว
นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน
10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม
การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย
หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ
หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร
ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้
- ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
- เปลี่ยนหลังคา
หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
- เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น