การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและฉนวน 2





บทที่ 2

การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
ที่มีคุณสมบัติความเป็นฉนวน 10 ชนิด
จากการศึกษาถึงสัดส่วนความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารที่พักอาศัยของ
การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะพบว่าพลังงานที่ใช้ไปกับระบบปรับอากาศมี
สัดส่วนที่สูงที่สุด โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จึงเป็นเหตุให้จำเป็นต้องศึกษาว่าทำ
อย่างไรถึงจะทำให้ช่วยลดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปกับระบบปรับอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากที่สุด
เนื่องจากเมืองไทยเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น แนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่า
พลังงานไฟฟ้าสำหรับระบบปรับอากาศก็คือ การป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร สำหรับบ้านพัก
อาศัยนั้น ก็มีหลายแนวทาง อาทิ
- การสร้างความเย็นให้กับสภาพแวดล้อม
- การป้องกันความร้อนให้กับเปลือกอาคาร
- การเลือกใช้การระบายอากาศภายในอาคารอย่างเหมาะสม



ในที่นี้จะมุ่งเน้นศึกษาถึงการป้องกันความร้อนให้กับเปลือกอาคาร โดยศึกษาถึงวัสดุ
อุปกรณ์ก่อสร้าง 10 ชนิด ดังที่กล่าวมาแล้วในบทที่1 และเพื่อให้เกิดความเข้าใจจึงควรที่จะศึกษา
ถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเทความร้อนและวัสดุกรอบอาคาร ดังนี้

2.1 วัสดุก่อสร้างและฉนวนกับการประหยัด       พลังงาน
เมื่อกล่าวถึงเรื่องการใช้พลังงานภายในอาคาร ซึ่งในที่นี้หมายถึงพลังงานไฟฟ้า คนทั่วไป
ส่วนมากจะมีความเข้าใจเฉพาะการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพียง
อย่างเดียว เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน แต่แท้ที่จริง
แล้วยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยให้เกิดมีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ลดลงได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีนั้นก็คือ
“การเลือกใช้วัสดุประกอบอาคาร” หรือที่เรียกทั่วไปว่า วัสดุก่อสร้าง ให้มีความเหมาะสมกับการใช้
งานในแต่ละพื้นที่ และมีขั้นตอนการใช้งานอย่างถูกวิธี
 
สาเหตุเนื่องจากวัสดุประกอบอาคาร โดยเฉพาะวัสดุที่ใช้ภายนอก เปรียบเสมือนเป็น
เปลือกหุ้มอาคารเหล่านั้นไว้ ถ้าเลือกใช้วัสดุที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดี ผู้อยู่อาศัยภายใน
บ้านก็จะไม่รู้สึกร้อน และภายในอาคารก็จะอยู่ในสภาวะน่าสบายได้ตลอด และเมื่อมีการรวบรวม
ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มาวิเคราะห์แล้วพบว่า พลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ภายในอาคารพักอาศัยถูก
ใช้ไปกับการลดความร้อนภายในอาคารเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดนั้นก็คือ การใช้ระบบปรับอากาศเข้า
มาเสริมเมื่อต้องการให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย ที่ผ่านมาในขั้นตอนของการออกแบบก่อสร้างจะมีผู้ที่
คำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนไม่มากนัก หากมีการเตรียมการ
ป้องกันในขั้นต้นอย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะไม่ทำให้ภาระในการลดความร้อนตกไปอยู่กับระบบทำ
ความเย็นของเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากชนิดหนึ่งในการทำงานของ
ระบบ

เมื่อทราบถึงความสำคัญของการเลือกใช้วัสดุประกอบอาคารให้มีความเหมาะสมแล้ว ก็
ควรที่จะทำการศึกษาหรือมีความเข้าใจพื้นฐานของวัสดุบ้างในระดับหนึ่ง เพื่อใช้ประกอบในการ
พิจารณาเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม และก่อนที่จะกล่าวถึงคุณสมบัติและการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง
แล้ว สิ่งหนึ่งที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการทำความเข้าใจ คือความรู้ทางด้านทฤษฎีที่มีความ
เกี่ยวข้อง ระหว่างวัสดุก่อสร้าง ความร้อน และพลังงานในระดับเบื้องต้น อันจะเป็นประโยชน์ใน
การทำความเข้าใจคุณสมบัติต่างๆของวัสดุต่อไป

2.1.1 การถ่ายเทความร้อนสู่อาคาร
ความร้อนที่อยู่ภายในอาคารมาจากแหล่งกำเนิดความร้อน 2 ส่วน หลักๆ คือ ความร้อน
จากภายนอก และความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคารเอง โดยทั่วไปส่วนมากแล้ว ความร้อนรวมใน
อาคารจะมาจากภายนอกมากกว่าและเป็นความร้อนที่ได้รับอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์ โดยการ
ส่งผ่านความร้อนจะมาจากตัวกลางหลายชนิดมาสู่อาคาร และความร้อนเหล่านั้นก็จะส่งผ่านทาง
เปลือกอาคารสู่ภายในอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งในเรื่องของการถ่ายเทความร้อนสู่อาคาร จะมีการกล่าวถึง
ประเด็นหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ที่มาของความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร
- อิทธิพลของรังสีดวงอาทิตย์
- คุณสมบัติความเป็นฉนวน
- การถ่ายเทความร้อน
- การเลือกใช้วัสดุเพื่อการประหยัดพลังงาน
- ภาระความร้อนและระบบปรับอากาศ
2.1.1.1 ที่มาของความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร ประกอบด้วย
1) ความร้อนที่เกิดขึ้นจากภายในอาคาร (Internal Heat Gain : Qi)
เป็นความร้อนที่อาจเกิดได้ทั้งจากคน หรือมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายใน
อาคาร เช่น ความร้อนจากหลอดไฟฟ้า ตู้เย็น เป็นต้น
2) ความร้อนที่เกิดขึ้นจากภายนอกอาคาร (External Heat Gain)
เป็นความร้อนที่จะเกิดจากอิทธิพลของรังสีดวงอาทิตย์ ดังนี้
2.1) Conduction Heat Gain / Loss (Qc) :
การนำความร้อน ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งการนำความร้อนเข้ามาภายในอาคาร
หรือการสูญเสียความร้อนสู่ภายนอกโดยตัวนำความร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับ
ของอุณหภูมิระหว่างภายนอกและภายในอาคาร โดยความร้อนจะถ่ายเทจาก
ที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าเสมอ
2.2) Solar Radiation (Qs) :
การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ ในกรณีของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์
สูตรจะได้รับผลกระทบจากรังสีดวงอาทิตย์เป็นอย่างมาก
2.3) Ventilation Heat Gain / Loss (Qv) :
ความร้อนที่มาจากการระบายอากาศ จะมีลักษณะคล้ายกับการนำ
ความร้อนแต่จะมีตัวกลางในการพาความร้อนมาโดยอากาศ ซึ่งจะมีความ
เกี่ยวข้องกับทิศทางและความเร็วของกระแสลมด้วย
2.4) Evaporative Heat Loss (Qe) :
การระเหยหรือความร้อนที่กลายเป็นไอ และในขณะที่เกิดการระเหย
จำเป็นจะต้องใช้พลังงาน (ความร้อน) ในการเปลี่ยนสถานะ ทำให้สามารถช่วย
ลดความร้อนในบริเวณนั้นได้

2.1.1.2 อิทธิพลของรังสีดวงอาทิตย์
ปัจจัยในอากาศเป็นส่วนร่วมของข้อมูลที่มีความแตกต่างกันทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่ง
เป็นการยากที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันเพียงแค่อุณหภูมิของอากาศได้ การ
ออกแบบให้สภาวะภายในอาคารมีความสมดุลทางบรรยากาศ จึงต้องวิเคราะห์ถึง
ความสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกันของปัจจัยทั้งหมดในอากาศ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีส่วนร่วมใน
สภาวะน่าสบายดังกล่าว คือ อุณหภูมิอากาศ การแผ่รังสีความร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ และ
กระแสลม
การเปลี่ยนแปลงความแตกต่างของอุณหภูมิประจำปี รวมทั้งการเหนี่ยวนำให้เกิด
การพัดของกระแสลม ขึ้นอยู่กับปริมาณการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิด
เนื่องจากการโคจรผ่านโลกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ การ
แผ่รังสี การโคจรของดวงอาทิตย์ และกระแสลม จึงเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อ
นำไปใช้ในการออกแบบ
อุณหภูมิอากาศ
ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรายวัน ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องฟ้า ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส
รังสีความร้อนสามารถผ่านชั้นบรรยากาศได้สะดวกกว่าวันที่ฟ้าครึ้ม ทำให้วันที่ฟ้าใสจะร้อนกว่า
โดยเฉพาะในฤดูร้อนจะทำให้อุณหภูมิสูงกว่าปกติ แต่วันฟ้าโปร่งในฤดูหนาวจะหนาวไม่มากนัก
เนื่องจากดวงอาทิตย์โคจรห่างออกไป

การแผ่รังสีความร้อน
ดวงอาทิตย์แผ่รังสีความร้อนและแสงสว่างให้กับโลก ซึ่งรังสีความร้อนเข้ามาถึงผิวโลก
ประมาณ 420 Btu / ft2 / hr หรือเท่ากับ 1.94 Cal / cm2 / min ทั้งนี้โลกได้รับรังสีความร้อนน้อย

กว่าที่ควรจะเป็นมาก เนื่องจากมีบรรยากาศโลกห่อหุ้มไว้ ส่วนหนึ่งของรังสีถูกดูดซึมไว้ใน
บรรยากาศ บางส่วนกระจายออกเพราะกระทบกับโมเลกุลของบรรยากาศ ส่วนหนึ่งพื้นดินจะรับไว้
และเก็บในรูปของความร้อนและค่อยๆ คายออกมาสู่อากาศผิวดิน ยิ่งผิวโลกที่มีความสูงจาก
ระดับน้ำทะเลมากเท่าไรรังสีความร้อนที่ได้รับก็จะเพิ่มขึ้นตามความสูง
การถ่ายเทรังสีความร้อน
การถ่ายเทรังสีความร้อนมีอยู่หลายลักษณะ ตามชนิดของต้นกำเนิดและลักษณะการ
ถ่ายเท คือ
1. คลื่นรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์
2. คลื่นรังสีสั้นแผ่กระจาย
3. คลื่นรังสีสั้นสะท้อนจากพื้นดิน และสิ่งใกล้เคียง
4. คลื่นรังสียาวจากพื้นดิน หรือสิ่งใกล้เคียงที่ร้อน
5. คลื่นรังสียาวที่อาคารแผ่กลับให้บรรยากาศ
คลื่นรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์กับคลื่นรังสีแผ่กระจาย รวมกันเรียกว่าคลื่นรังสีรวม หรือ
การแผ่รังสีรวม (Total Radiation) ซึ่งมีความสำคัญในการพิจารณาเรื่องการได้รับความร้อน
ทางด้านต่างๆของอาคาร วิเคราะห์ในเรื่องทิศทางการวางอาคาร รูปร่างสัดส่วนของอาคารในเขต
ร้อน การควบคุมอุณหภูมิของอาคาร เทคนิคการก่อสร้างอาคารในเขตร้อน เป็นต้น
การแผ่รังสีสะท้อนจากสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง ปกติพื้นที่แนวนอนได้รับรังสีเป็น 2 เท่าของพื้นที่
แนวตั้ง ในช่วงเวลาที่เกิดความร้อนวิกฤต (Overheated Period) เช่นช่วง 14.00 – 16.00 น. ฉะนั้น
อาคารข้างเคียง ส่วนของอาคาร หรือระดับพื้นแนวนอนที่มีผิววัสดุบางอย่างที่จะสะท้อนความร้อน
จำนวนมากที่เข้ามาในอาคารโดยง่าย การออกแบบอาคารโดยมีดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด
ใหญ่จะสะท้อนแสงและส่งผ่านความร้อนเข้าในห้องชั้นบน จึงควรหลีกเลี่ยงให้มาก และควรมีการ
วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการให้สัมพันธ์กับทิศทางแดดลม ซึ่งจะสัมพันธ์ไปถึงการวางตำแหน่งห้องต่างๆ
ของอาคารและรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบอาคารด้วย

การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและฉนวน 1

บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมา
ภาพรวมการใช้พลังงานในภาคที่อยู่อาศัยในประเทศไทย นับวันจะมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง จากข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจในปีพ.ศ.2544 พบว่าการใช้พลังงานของภาคธุรกิจและที่
อยู่อาศัยของประเทศโดยรวม มีการใช้พลังงานอยู่ในลำดับที่ 3 รองลงมาจากภาคการขนส่งและ
ภาคอุตสาหกรรม ดังภาพประกอบ รูปที่ 1.1 โดยแนวโน้มการใช้พลังงานในสาขาบ้านที่อยู่อาศัย
นับวันจะมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตประมาณร้อยละ 1.7 ต่อปี
(ในช่วงปี 2533-2543)






รูปภาคอุตสาหกรรม ภาคการคมนาคมและภาคธุรกิจ/ที่อยู่อาศัยที่มีการใช้พลังงาน
สูงสุด
ด้วยเหตุนี้การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นเรื่องสำคัญและ
เร่งด่วนที่ควรถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ดังจะเห็นจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้พลังงาน
จากแหล่งพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล พลังงานเชื้อเพลิง
ชีวภาพ เป็นต้น โดยมีการใช้พลังงานสำหรับระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง อุปกรณ์
เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ ในลักษณะที่แตกต่างกัน

ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน
จัดทำโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย อาทิ สถาบันจัดการความต้องการ
ไฟฟ้า (DSM Office) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดทำโครงการฉลากอุปกรณ์
ประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ของกระทรวง
พลังงาน จัดทำโครงการรวมพลังหารสอง เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ประชาชนใช้พลังงาน
อย่างประหยัด
หนังสือเผยแพร่ฉบับนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นอีกส่วนหนึ่งของโครงการการศึกษาสถานภาพ
การใช้พลังงานและแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งจัดทำโดย
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (Department of Alternative Energy
Development and Efficiency) กระทรวงพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนมีความเข้าใจ
เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้
อย่างเหมาะสม โดยแบ่งเป็น 2 เล่ม คือ เล่มหนึ่ง : การเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
เล่มสอง : การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและฉนวน
หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มสอง โดยมีรายละเอียดภายในหนังสือเกี่ยวกับสถานการณ์
การใช้พลังงานในปัจจุบัน และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้กันทั่วไปและมีคุณสมบัติ
เป็นฉนวน 10 ชนิด ดังภาพประกอบ รูปที่ 1.2 ได้แก่ อิฐมอญ (Brick) คอนกรีตบล็อก (Concrete
Masonry Block) คอนกรีตมวลเบา (Light-weight Concrete Block) กระจกเขียวตัดแสง (Heat
Absorbing Green Glass) แผ่นยิปซั่มบอร์ดชนิดกันความร้อน (Reflective Gypsum Board)
แผ่นไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) เซรามิคโค้ทติ้ง (Ceramic Coating) แผ่นอลูมินั่มฟอยล์
(Aluminum Foil Sheet) ฉนวนใยแก้ว (Fiber Glass) และฉนวนโฟม (Foam)







1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและ
ฉนวนในบ้านที่อยู่อาศัย
2. เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและฉนวนในบ้านที่อยู่อาศัยอย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้านที่อยู่อาศัย

1.3 สถานการณ์การใช้พลังงานของไทย
โดยทั่วไปการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น จะส่งผลให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วน
ของภาคการผลิต และในส่วนของภาคการบริโภค ดังนั้นการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับปริมาณ
ความต้องการใช้พลังงานนั้น จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา
คุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย
จากแผนภูมิ รูปที่ 1.3 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาคงที่ กับ
ปริมาณความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2544 ซึ่ง
จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม และความต้องการพลังงานนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก โดย
ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลผลิตในประเทศมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้การใช้พลังงาน
เพิ่มขึ้น แต่ในช่วงปีพ.ศ. 2540 – 2541 ซึ่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้มีการหดตัวของผลิตภัณฑ์มวล
รวม ก็ส่งผลให้การใช้พลังงานลดลงตามไปด้วย


ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 2,112 พันล้านบาท ในปีพ.ศ. 2534 เป็น
3,064 พันล้านบาท ในปีพ.ศ. 2544 ส่วนความต้องการพลังงานก็เพิ่มขึ้นจาก 32,548 พันตัน
เทียบเท่าน้ำมันดิบ (Ktoe) เป็น 49,542 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบตามลำดับ อัตราการเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2544 ร้อยละ 4.60 ต่อปี ในขณะที่ความต้องการ
พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 ต่อปี จะสังเกตเห็นได้ว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมีการหดตัว
ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ความต้องการใช้พลังงานก็ลดลงด้วย



การนำเอาพลังงานมาใช้ สามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง
พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน จากกราฟ รูปที่ 1.5 แสดงความ
ต้องการพลังงานขั้นสุดท้าย จำแนกตามประเภทพลังงาน พ.ศ.2534 - 2544 ซึ่งแบ่งพลังงาน
ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- พลังงานหมุนเวียน
- พลังงานไฟฟ้า
- ก๊าซธรรมชาติ
- น้ำมันสำเร็จรูป
- ถ่านหิน
โดยพลังงานจากน้ำมันสำเร็จรูปเป็นรูปแบบพลังงานที่มีความต้องการมากที่สุด โดยในปี
พ.ศ. 2544 ความต้องการใช้พลังงานจากน้ำมันสำเร็จรูปมีสูงถึง 27,300 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด และสัดส่วนนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการขยายตัวเป็นอย่างมากของสาขาขนส่ง

สาขาเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดในปีพ.ศ. 2544 คือสาขาขนส่ง จำนวน
18,632 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือประมาณร้อยละ 38 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด
รองลงมาคือ สาขาอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 34 และลำดับที่สามคือ สาขาบ้านอยู่อาศัยและ
ธุรกิจการค้า ร้อยละ 22 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด ส่วนสาขาอื่นๆ คือ เกษตรกรรม
เหมืองแร่ และการก่อสร้าง มีสัดส่วนการใช้พลังงานน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 6 ของความต้องการ
ใช้พลังงานทั้งหมด

1.4การใช้พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย
บ้านอยู่อาศัยในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 15.7 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยใน
กรุงเทพและปริมณฑล 1.7 ล้านครัวเรือน ในเขตเทศบาล 3.5 ล้านครัวเรือน และนอกเขตเทศบาล
10.5 ล้านครัวเรือน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้จัดทำการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานใน
ครัวเรือน พ.ศ.2544 พบว่าจากปริมาณการใช้พลังงานทั่วประเทศ 7,438 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
มีการใช้พลังงานจาก ฟืนและถ่าน เป็นเชื้อเพลิงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65 ของการใช้พลังงานใน
ครัวเรือนทั่วประเทศ โดยที่เกือบทั้งหมดเป็นการใช้ในครัวเรือนนอกเขตกรุงเทพและปริมณฑลและ
นอกเขตเทศบาล สำหรับครัวเรือนที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และครัวเรือนที่อยู่ในเขต
เทศบาลนั้น จะใช้ไฟฟ้ามากที่สุดเมื่อเทียบเป็นค่าพลังงาน โดยในเขตกรุงเทพและปริมณฑลใช้
พลังงานไฟฟ้าเป็นปริมาณทั้งสิ้น 661 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของ
ปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด และในเขตเทศบาลใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 355 พันตันเทียบเท่า
น้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดในเขตดังกล่าว

โดยสรุปแล้ว ภาพรวมการใช้พลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย จะมีความแตกต่างกัน
ระหว่างสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในเขตเมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเทศบาล อีก
กลุ่มคือ กลุ่มที่อยู่ในชนบท ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล โดยกลุ่มที่อยู่ในเขตเมืองจะใช้ไฟฟ้าเป็น
พลังงานหลัก และจะมีการใช้ก๊าซหุงต้มในการประกอบอาหารบ้าง แต่จะไม่ใช้ฟืนและถ่านในการ
ประกอบอาหาร ในขณะที่การใช้พลังงานในชนบท ส่วนมากจะเป็นการใช้ฟืนและถ่านในการ
ประกอบอาหาร การใช้พลังงานไฟฟ้าจะเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
เมื่อพิจารณาในภาพรวมของทั้งประเทศ จะพบว่า ถึงแม้จะมีความผันผวนของปริมาณ
การใช้พลังงานบ้างในบางปี แต่ปริมาณความต้องการพลังงานในบ้านอยู่อาศัยนั้น เพิ่มขึ้นใน
ทิศทางเดียวกันกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อประชากร

เมื่อพิจารณาการใช้พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย จะพบว่าพลังงานไฟฟ้ามีบทบาทและเป็น
ปัจจัยสำคัญขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตสมัยใหม่ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าตามกิจกรรมการใช้งาน
หลายรูปแบบ อาทิ เพื่อการทำความเย็น เพื่อการให้แสงสว่าง เพื่อการทำอาหาร และเพื่ออุปกรณ์
อิเลคโทรนิกส์


1.5 การอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย

จากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่า ในภาคที่อยู่อาศัยของประเทศ มีการใช้พลังงานโดยเฉพาะ
พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และจากการคาดการณ์ของ
คณะอนุกรรมการพยากรณ์ไฟฟ้า ยังได้คาดการณ์ว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัย จะ
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 ในช่วงระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า ดังนั้น การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
องค์ประกอบหลักของการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ในภาคที่อยู่อาศัย มี 3 ประการ คือ

1. บ้านที่อยู่อาศัย
การออกแบบบ้านที่ดี โดยมีการคำนึงถึงรูปแบบและการเลือกใช้วัสดุประกอบอาคารที่
เหมาะสม จะช่วยลดระดับการใช้พลังงานและความต้องการในการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบาง
ชนิดได้ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้พลังงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

2. อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง
เทคโนโลยีเหล่านี้ จะส่งผลให้ความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าลดน้อยลงหรือไม่ใช้เลยได้
(เช่นเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์) หรือได้งานมากขึ้น โดยใช้พลังงานเท่าเดิมได้เช่นกัน

3. พฤติกรรมและการใช้สอยอาคาร
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ส่งผลให้มีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ซึ่ง
อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความไม่รู้ หรือ พฤติกรรมที่ไม่เอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น ดังนั้นการปรับเปลี่ยนให้ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้อง จนเกิดเป็นจิตสำนึกและเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมนั้น จะส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน